วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยมหิดลขอให้บัณฑิตไปยื่นขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า

บรรยายพิเศษ
“การบริหารมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21”

วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 มหาวิทยาลัยมหิดล จัดบรรยายพิเศษเรื่อง “การบริหารมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21” โดยศาสตราจารย์ ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง ผู้อำนวยการสถาบันสมองของชาติ ในที่ประชุมคณบดี ครั้งที่ 9/2554 ณ ห้องประชุม ศ. นพ. นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

------------------------------------------------------------------------------------------------
 มหาวิทยาลัยของไทย ติด 1 ใน 100 มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยมในเอเชีย จากการจัดอันดับของ QS Asian Universities Ranking 2011

รองศาสตราจารย์พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากการประกาศผลการจัดอันดับ QS Asian Universities Ranking 2011 ล่าสุด ในปี 2011 นี้ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย มีมหาวิทยาลัยของประเทศไทยติดอันดับใน 100 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 34 มหาวิทยาลัยมหิดล, อันดับที่ 47 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อันดับที่ 67 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อันดับที่ 88 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอันดับที่ 95 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยที่อยู่ในอันดับที่ 1 ของเอเชีย คือ The Hong Kong University of Science and Technology  
การจัดอันดับ QS Asian Universities Ranking เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชีย โดยมีเกณฑ์ค่าน้ำหนักในการพิจารณาให้คะแนนจาก 4 หลักเกณฑ์ คือ
- คุณภาพงานวิจัย ประเมินโดยผู้ร่วมวิชาชีพ (Peer Review) ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจับทั่วทั้งเอเชีย ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 30 + สัดส่วนจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ต่ออาจารย์ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 15 + สัดส่วนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 15 (Research Quality - Asian Academic Peer Review 30% + Papers per Faculty 15% + Citations per Paper 15%)
- คุณภาพการสอน ประเมินจากสัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 20 (Teaching Quality - Student Faculty Ratio 20%)
- คุณภาพบัณฑิตที่ได้งาน ได้รับการประเมินจากผู้จ้างงานในเอเชีย ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 10(Graduate Employability - Asian Employer Review 10%)
- ความเป็นนานาชาติ ประเมินจากสัดส่วนจำนวนอาจารย์ชาวต่างประเทศ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 + สัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 + จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 + จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนไปยังต่างประเทศ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 (International - International Faculty 2.5% + International Students 2.5% + Inbound Exchange Students 2.5% + Outbound Exchange Students 2.5%)

รองศาสตราจารย์พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้วสำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชีย โดย Quacquarelli Symonds Ltd. (QS) ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานระดับโลก การที่มหาวิทยาลัยมหิดลยังคงอยู่ในอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยติดต่อกันอีกครั้ง และอยู่ในอันดับที่ 34 ของภูมิภาคเอเชีย เป็นการแสดงถึงผลงานด้านการวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงอยู่ในวารสารระดับโลกซึ่งแสดงถึงความมีคุณภาพของงานวิจัยจนได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังคงให้ความสำคัญกับงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอนระดับนานาชาติ ความพึงพอใจของผู้ใช้งานบัณฑิต และจำนวนสัดส่วนอัตราอาจารย์ต่อนักศึกษา ซึ่งค่าน้ำหนักในการพิจารณาให้คะแนนจากเกณฑ์ดังกล่าวนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถทำคะแนนได้เป็นอย่างดี
มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งพัฒนาความเป็นเลิศใน 4 ด้าน คือ ความเป็นเลิศด้านการวิจัย ความเป็นเลิศด้านการเรียนรู้ ความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการให้บริการ และความเป็นนานาชาติ ซึ่งผลงานเหล่านี้จะก่อประโยชน์แก่สังคม ทั้งในระดับประเทศ และในระดับนานาชาติ
 
************************************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สัมมนาปฏิบัติการเครือข่ายผู้ดูแลเว็บไซต์




     วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2554 รองศาสตราจารย์พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายผู้ดูแลเว็บไซต์ โดยมีนายพัชร เกิดศิริ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดออนไลน์ บริษัท ไทเกอร์ไอเดีย จำกัด บรรยายหัวข้อ “เทคนิคการเพิ่ม Visibility ให้ Website มหาวิทยาลัยมหิดล” และนายอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ Product Manager เว็บไซต์ Pantip.com และรองเลขาธิการสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย บรรยายหัวข้อ “กลยุทธ์การเพิ่ม Visibility ในมุมมองของผู้บริหารเว็บไซต์ระดับแนวหน้า” เป็นวิทยากรในการบรรยาย ณ โรงแรมราวินทรา บีช รีสอร์ท จอมเทียน จ. ชลบุรี โดยมีสมาชิกในเครือข่ายผู้ดูแลเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมสัมมนา จำนวน 150 คน
---------------------------------------------------------------------------------------------
บวงสรวงพระราชานุสาวรีย์พระราชบิดา


     วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีมหาวิทยาลับมหิดล เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเพื่อประดิษฐาน พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ณ ลานสมเด็จพระราชบิดา อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมในพิธี และได้มีการนำชมการก่อสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดลด้วย
-------------------------------------------------------------------------------------------

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยมหิดล เชิญชวนเสนอชื่อ แม่ 100ปี, แม่สู้ชีวิต และแม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อรับการยกย่องเทิดทูนในงาน “มหิดล-วันแม่” ประจำปี 2554
มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา งาน “มหิดล - วันแม่” ประจำปี ๒๕๕๔ ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ณ สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยได้มีเปิดรับเสนอชื่อ “แม่ ๑๐๐ ปี” เพื่อเชิดชูเกียรติในงาน “มหิดล – วันแม่”
มหาวิทยาลัยมหิดลเชิญชวนเสนอชื่อ “แม่สู้ชีวิต” เพื่อรับการยกย่องเทิดทูนในงาน “มหิดล-วันแม่” ประจำปี ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา การคัดเลือก “แม่สู้ชีวิต” ๔ ภาค ต้องมีบุคคลหรือหน่วยงานอื่นเป็นผู้เสนอชื่อ คุณสมบัติของแม่สู้ชีวิต จะต้องเป็นแม่ที่อุทิศกำลังกาย กำลังใจ อุทิศชีวิตของตนเองด้วยความมานะ อุตสาหะ บากบั่น เพื่อให้ลูกมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ลูกของแม่สู้ชีวิตไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จในชีวิตด้วยการมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีการศึกษาสูง ลูกอาจเป็นเด็กพิการ แต่แสดงให้เห็นว่า ด้วยความรัก ด้วยจิตใจ และสองมือของแม่ได้โอบอุ้มให้ลูกสู้ชีวิตอยู่ได้ แสดงถึงพลังรักอันยิ่งใหญ่ของแม่ การเสนอชื่อมี ๒ ประเภท ได้แก่ แม่ของลูกที่มีความปกติ และแม่ของลูกพิการ โดยไม่จำกัดวัย การศึกษา ผู้ได้รับคัดเลือกเป็น “แม่สู้ชีวิต”
ม.มหิดล โดย คณะสิ่งแวดล้อมฯ จัดประกวด “แม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” เนื่องในงาน “มหิดล – วันแม่” ประจำปี ๒๕๕๔ เปิดรับเสนอชื่อ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ด้วยสภาพสังคมปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาสภาวะวิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล จึงได้จัดโครงการ “แม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ขึ้น เนื่องในงาน “มหิดล – วันแม่” เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงห่วงใยพสกนิกรที่ประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเสมอมา โดยคณะกรรมการจะดำเนินการคัดเลือกตามแนวคิดที่ว่าสิ่งแวดล้อมดีเริ่มต้นที่แม่ คัดเลือกแม่ที่มีบทบาทในการสนับสนุนให้ลูกเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นแม่ที่มีบทบาทสนับสนุนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสังคมอย่างเด่นชัด ผู้ได้รับรางวัล “แม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

-----------------------------------------------------------------------------------------------

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สัมมนาเชิงปฏิบัติการเลขานุการยุคใหม่กับบทบาทผู้ช่วยผู้บริหาร



     วันที่ 30 เมษายน 2554 รองศาสตราจารย์พาสน์ศิริ นิสาลักษณ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Smart Secretary Work: เลขานุการยุคใหม่กับบทบาทผู้ช่วยผู้บริหาร” ภายใต้หัวข้อ Executive Secretary: สุดยอดเลขานุการระดับบริหาร โดยมี อ. ประภาภรณ์ พนัสพรประสิทธิ์ เลขานุการบริหาร สำนักงานกรรมการผู้จัดการ และผู้จัดการส่วนบริหารธุรการ บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องแก้วไทย จำกัด (มหาชน) เป็นวิทยากรในการบรรยาย ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว

-------------------------------------------------------------------------------