วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มหิดลพร้อมพันธมิตร เตรียมพร้อมรับมือหาก “น้ำท่วม”

21 สิงหาคม 2555 มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมหน่วยงานภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่บริเวณปลายน้ำฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ร่วมกันแถลงถึงความพร้อมของชุมชนในพื้นที่ศาลายา หากน้ำท่วมอีกครั้ง
มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมพันธมิตรนำเอาประสบการณ์การรับมือ “น้ำ” ในปีมหาอุทกภัยที่ผ่านมา จัดเวทีระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน เพื่อวางแนวทางในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นให้มีระบบการดำเนินการร่วมกันทั้งพื้นที่โดยรอบที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการประสานความช่วยเหลือ การให้และรับข้อมูลที่ถูกต้องกับหน่วยงานหลักของทางจังหวัดและประเทศ
ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จากวิกฤติอุทกภัยในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อม อีกทั้งมหิดลมีศักยภาพทางด้านการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำในเชิงสิ่งแวดล้อม วิทยาการต่างๆ จึงเรียนเชิญหน่วยงานภาครัฐ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่ทำงานร่วมกันและเป็นเครือข่ายจากความร่วมมือร่วมใจในปีที่ผ่านมาเข้ามาประชุมและบูรณาการร่วมกันจนเกิดเป็นแผนนี้ขึ้น โดยเน้นถึงการบริหารจัดการในพื้นที่ของชุมชนศาลายา คลองโยง และมหาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยมหิดล”
ภาพรวมของแผนบริหารจัดการอุทกภัยปี 2555 เน้นการวางแนวทางในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย โดยเน้นให้มีระบบการดำเนินการร่วมกันทั้งพื้นที่ รวมถึงการประสานความช่วยเหลือ การให้และรับข้อมูลที่ถูกต้องกับหน่วยงานหลักของทางจังหวัดและประเทศ โดยกำหนดกรอบการปฏิบัติไว้ครอบคลุมตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภัย ระยะเกิดภัยและระยะหลังเกิดภัย ประกอบไปด้วย 6 ศูนย์หลักดำเนินการประสานสอดคล้องกัน ได้แก่
1.ศูนย์แผนการสื่อสารและข้อมูล
2.ศูนย์รักษาพยาบาลผู้ประสบภัย
3.ศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
4.ศูนย์อาสาสมัคร
โดย 4 ศูนย์นี้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ดูแล 4.ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นผู้ดูแล และสุดท้ายศูนย์ระบบการขนส่ง ดูแลโดยหน่วยงานจากกองทัพที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลในพื้นที่
รายละเอียดทั้งหมด ที่นี่
*************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น